วันพุธที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

บทที่ 2 ความปลอดภัยในการใช้คอมพิวเตอร์

สุขภาพและความปลอดภัย

    การทำงานหน้าเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ อาจทำ ให้เกิดผลเสียต่อ สุขภาพร่างกายได้ ท่านจึงควรศึกษาคำ แนะนำเพื่อสุขภาพและความปลอดภัย ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยง ความเสี่ยงต่ออาการเจ็บป่วย และเพื่อความสะดวงสบายใน การใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ของตัวท่านเอง
  
          มีการทดลองพบว่าการนั้งพิมพ์งานอยูกับที่เป้นเวลานานๆ หรือการจัดตั้ง เครื่องคอมพิวเตอร์ใน ตำแหน่งที่ไม่ถูก สุข ลักษณะ อุปนิสัยการทำงานที่ไม่ ถูกต้อง หรือการมีปัญหา ด้านสุขภาพ อาจทำให้มีอาการปวดข้อมือ ปวดเส้น เอ็น หรือมีอาการอักเสบได้


อาการที่อาจเตือนให้ทราบ

  • อาการชา
  • อาการเจ็บ ๆ คัน
  • อาการปวดตุบๆ
  • อาการปวดแสบปวดร้อน
  • อาการแสบ
  • อาการปวดมือ ข้อมือ แขนและคอ
          อาการเหล่านี้อาจเกิดขึ้นได้ในเวลาที่คุณกำลังพิมพ์ เอกสารอยู่หรือในเวลา อื่นที่ไม่ได้ใช้งานคอมพิวเตอร์ หรือ แม้ในเวลา กลางคืน หากคุณมีอาการ ข้างต้นหรือมีอาการ  อื่นที่คิดว่าน่าจะเนื่องมาจากการใช้คอมพิวเตร์ คุณควร ปรึกษาแพทย์ทันที ดัวนั้น คำแนะนำเหล่านี้จะอธิบายถึง วิธีการจัดวางเครื่อง คอมพิวเตอร์ที่ถูกสุขลักษณะท่านั่งที่ ถูกต้อง และความสัมพันธ์ระหว่าง สุขภาพกับอุปนิสัยการ ทำงานของคุณในการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์

การปรับสภาพแวดล้อมในการทำงาน

          สิ่งแวดล้อมต่างๆ ในการทำงานจะเป็นปัจจัยในการตัดสิน สมรรถภาพ ในการทำงานของเรา อีกทั้งยังเป็นตัวบ่งชี้ว่าเรามี นิสัยการทำงานที่ถูกสุขลักาณะ และปลอดภัยหรือไม่ การ ปฎิบัติตามคำแนะนำ จะทำให้เกิดสิ่งแวดล้อมที่ถูกสูขลักษณะ  ซึ่งจะทำให้เกิดประสิธิภาพ และความปลอดภัยในการทำงาน

วิธีการปรับสภาพแวดล้อมในการทำงาน

  • การจัดวางแป้นพิมพ์ เมาส์ และอุปกรณ์ป้อนข้อมูล
  • การวางและเคลื่อนไหวมือแขน
  • มุมมองภาพที่ปรากฎบนจอ
  • การจัดแสงสว่าง
  • อุปนิสัยในการทำงาน
  • สุขภาพและการออกกำลังกาย
  • 10 ขั้นตอนเพื่อความปลอดภัย


การใช่คอมพิวเตอร์อย่างถูกลักษณะ

  เนื้อหาจะเป็นการแนะนำ การใช้คอมพิวเตอร์เบื้องต้น ต่าง ๆ ที่จำเป็น ตั้งแต่การเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ การจับเม้าส์ การกดปุ่มบนเม้าส์ ตลอดจนการเปิดโปรแกรมต่าง ๆ ขึ้นมา การปิดโปรแกรมต่าง ๆ เมื่อไม่ใช้งาน การแก้ไขเครื่องในกรณีเครื่องเกิดอาการ Hang การปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ถูกต้อง

การเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์

1.       ตรวจสอบปลั๊กเสียก่อนว่า เสียบเรียบร้อยดีหรือไม่
2.       ที่จอภาพ กดสวิทซ์ เพื่อเปิดจอภาพ
3.       ที่ CPU. ด้านหน้า จะมีสวิทซ์ เพื่อเปิดเครื่อง (กดเบา ๆ )
4.       เมื่อเปิดเครื่องแล้ว รอสักครู่ ที่จอภาพจะมีข้อความเพื่อตรวจสอบระบบต่าง ๆ
5.       จากนั้น จะมีเสียง 1 ครั้ง
6.       ที่หน้าจอภาพจะขึ้นคำว่า Windows เป็นการเริ่มต้นการใช้เครื่อง เพราะเครื่องจะต้องเรียกโปรแกรมควบคุมเครื่องที่ชื่อว่า Windows เสียก่อน (จะใช้เวลาประมาณ 3 นาที)
7.       จากนั้นหน้าจอภาพจะมีโปรแกรมต่าง ๆ อยู่ด้านซ้าย และด้านล่างจะมีแถบ Task Bar ให้เราทำงานได้

การเลิกใช้เครื่องคอมพิวเตอร์

1.       คลิ๊กที่ปุ่ม Start
2.       เลื่อนมาคลิ๊กที่คำสั่ง Shut Down
3.       คลิ๊กปุ่ม Ok
4.       รอสักครู่เครื่องจะเริ่มทำการปิดระบบต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์
5.       จากนั้นเครื่องจะดับเอง
6.       ยกเว้น จอภาพ ให้กดสวิทซ์ ปิดจอด้วย

ส่วนประกอบของหน้าจอภาพเมื่อเข้าสู่วินโดวส์เรียบร้อยแล้ว

1.       ส่วนที่เป็นภาพฉากหลัง เราเรียกว่า ส่วนพื้นจอภาพ (Desk Top)
2.       ด้านซ้ายของจอภาพ ส่วนที่เป็นรูปภาพ และมีคำบอกว่าเป็นโปรแกรมอะไร เรียกว่า (Icon) ลักษณะจะเป็นโปรแกรมต่าง ๆ ที่วินโดวส์ จะนำมาไว้ที่จอภาพ ส่วนใหญ่จะเป็นโปรแกรมที่ถูกเรียกใช้บ่อย ๆ
3.       ด้านล่างของจอภาพที่เป็นแถบสีเทา เราเรียกว่า (Task Bar) เป็นส่วนบอกสถานะต่าง ๆ โดยที่ด้านขวาของ ทาสบาร์ จะบอกเวลาปัจจุบัน สถานะของแป้นพิมพ์ว่า ภาษาไทย หรือ อังกฤษ โปรแกรมที่ถูกฝังตัวอยู่ ส่วนแถบตรงกลางจะใช้บอกว่า ขณะนี้เราเปิดโปรแกรมอะไรใช้งานอยู่บ้าง ด้านซ้ายของจอภาพ จะมีปุ่ม Start ใช้ในการเริ่มเข้าสู่โปรแกรมต่าง ๆ
การกดปุ่มบนเม้าส์ (Mouse) เม้าส์ในปัจจุบันจะมี 2 ปุ่ม ซ้าย และขวา ส่วนถ้าเป็นแบบล่าสุด จะมีปุ่มคล้าย ๆ ล้ออยู่ตรงกลางเพื่อใช้ในการเลื่อน ขึ้น และ ลง บนหน้าจอภาพ (Scroll Bar) ในการกดปุ่มบนเม้าส์นั้น จะมีวิธีกดปุ่มบนเม้าส์อยู่ทั้งหมด 4 วิธีคือ
1.       คลิ๊ก (Click) คือการใช้นิ้วชี้กดปุ่ม ซ้าย ของเม้าส์ 1 ครั้ง ใช้ในการเลือกสิ่งต่าง ๆ บนจอภาพ
2.       ดับเบิ้ลคลิ๊ก (Double Click) คือการใช้นิ้วชี้กดปุ่ม ซ้าย ของเม้าส์ 2 ครั้ง ติดกันอย่างเร็ว ใช้ในการเปิดโปรแกรมที่อยู่ด้านซ้ายของจอภาพ
3.       แดร๊ก (Drag) คือการกดปุ่ม ซ้าย ของเม้าส์ ค้างไว้ แล้วลากเม้าส์ ใช้ในการย้ายสิ่งต่าง ๆ
4.       คลิ๊กขวา (Right – Click) คือการใช้นิ้วกลาง กดปุ่ม ขวา ของเม้าส์ 1 ครั้ง ใช้ในการเข้าเมนูลัดของโปรแกรม (Context Menu)
การเปิดโปรแกรมขึ้นมาใช้งาน เช่น ต้องการเปิดโปรแกรมเครื่องคิดเลข (Calculator)
1.       คลิ๊กที่ปุ่ม Start ตรงแถบทาสบาร์ด้านล่างซ้ายมือ
2.       เลื่อนเม้าส์เพื่อให้ลูกศรที่จอภาพ ชี้ที่คำว่า Program ตรงนี้ชี้ไว้เฉย ๆ ครับ ไม่ต้องคลิ๊กเม้าส์
3.       เลื่อนเม้าส์ไปทางขวา ในแนวนอนก่อน แล้วเลื่อนขึ้นไปที่คำว่า Accessories ไม่ต้องคลิ๊กเม้าส์
4.       เลื่อนเม้าส์ไปทางขวา ในแนวนอนอีก แล้วเลื่อนลงมาที่คำว่า Calculator
5.       จากนั้นจับเม้าส์ให้ นิ่ง ๆ คลิ๊กเม้าส์ 1 ที (คือการกดปุ่ม ซ้าย ของเม้าส์ 1 ครั้ง)
6.       กรอบต่าง ๆ จะหายไป แล้วเครื่องจะเปิดหน้าต่าง เครื่องคิดเลขขึ้นมา ถือว่าเสร็จขึ้นตอนการเปิดโปรแกรมเครื่องคิดเลข ขึ้นมาใช้งาน

การปิดโปรแกรม เครื่องคิดเลข

1.       ที่หน้าต่างเครื่องคิดเลข (Calculator) ตรงด้านบน ขวา มือจะมีปุ่มอยู่ 3 ปุ่ม
2.       ให้เลื่อนเม้าส์ ไปที่ปุ่มที่ 3 ทางขวามือ (ปุ่มจะเป็นรูป กากบาท X ) เมื่อเลื่อนเม้าส์ไปวางจะมีคำว่า Close
3.       คลิ๊ก 1 ครั้ง เครื่องก็จะปิดหน้าต่างโปรแกรมเครื่องคิดเลขไป
การขยายหน้าต่างของโปรแกรมให้เต็มจอภาพ (Maximize)
1.       ที่หน้าต่าง ด้านบน ขวามือ ให้คลิ๊ก ปุ่มที่สอง เครื่องจะมีข้อความขึ้นมาว่า Maximize (แต่ถ้าหน้าต่าง ถูกขยายขึ้นมาอยู่แล้ว คำจะเปลี่ยนเป็น Restore ถ้าคลิ๊กลงไปจะกลายเป็นหน้าต่าง ขนาดปกติ)
2.       จากนั้นเครื่องจะขยายหน้าต่างให้เต็มจอ ส่วนใหญ่เราจะขยายหน้าต่างให้เต็มจอเพื่อให้เห็นรายละเอียดในหน้าต่างมากขึ้น
การลดขนาดหน้าต่างเป็น Icon ลงใน ทาสบาร์ หรือ การซ่อนหน้าต่าง (Minimize)
1.       ที่หน้าต่าง ด้านบน ขวามือ ให้คลิ๊กปุ่มที่เป็นขีด ลบ ถ้าเลื่อนเม้าส์ไปวางจะขึ้นคำว่า Minimize
2.       คลิ๊กลงไป 1 ครั้ง เครื่องก็จะซ่อนหน้าต่าง ลงไปไว้ด้านล่างตรงทาสบาร์
3.       ที่ทาสบาร์จะมีคำเป็นลักษณะปุ่มเขียนว่า ซ่อนโปรแกรมอะไรไว้
4.       แต่ ถ้าอยากเรียกขึ้นมาใช้งานตามเดิม ให้คลิ๊กที่ปุ่มด้านล่างที่ทาสบาร์ที่เราซ่อนเอาไว้ เครื่องก็จะเปิดหน้าต่างโปรแกรมที่เราซ่อนเอาไว้ ขึ้นมาใช้งานได้ตามเดิม
การปิดโปรแกรมที่ทำให้เครื่องเกิดอาการแฮงค์ (Hang) อาการแฮงค์ คืออาการที่เราอาจจะเปิดโปรแกรมขึ้นมาหลายโปรแกรม แล้วทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานไม่ทัน หรือเราอาจจะคลิ๊กเม้าส์หลายครั้ง ในขณะที่เครื่องกำลังประมวลผลอยู่ จนเครื่องทำงานไม่ทัน เลยเกิดอาการแฮงค์ ซึ่งอาการแฮงค์นี้จะทำให้เราไม่สามารถคลิ๊กอะไรที่จอภาพได้เลย วิธีการแก้ไขเบื้องต้นคือ
1.       ที่แป้นพิมพ์ ให้เรากดปุ่ม Ctrl + Alt ค้างไว้ แล้วอีกมือหนึ่ง กดปุ่ม Delete แล้วปล่อย
2.       เครื่องจะขึ้นหน้าต่าง Task Manager ขึ้นมา
3.       จากนั้น เราคลิ๊กที่โปรแกรมที่เราคิดว่าทำให้เครื่องแฮงค์
4.       ด้านล่าง คลิ๊กที่ปุ่ม End Task เครื่องจะปิดโปรแกรมนั้นทิ้งไป
5.       ถ้าไม่มีการปิดโปรแกรมอื่นอีก ก็ให้เลือกปุ่ม Cancel ออกมา
 



ลักษณะการจัดวางอุปกรณ์คอมพิวเตอร์อย่างถูกวิธี

          ซึ่งถ้าพูดถึงเรื่องผลกระทบของการใช้คอมพิวเตอร์กับมนุษย์เราๆท่านๆแล้ว ในยุคที่เทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทกับชีวิตมนุษย์มากขึ้น และการพัฒนาของคอมพิวเตอร์นั้น มีความรวดเร็วมาก และมีประสิทธิภาพเทียบเท่า หรือดีกว่าการทำงานของมนุษย์ ซึ่งเห็นได้ว่าในต่างประเทศใช้หุ่นยนต์มาทำงานแทนมนุษย์ ในอนาคตคาดว่ามนุษย์อาจตกงาน เพราะหุ่นยนต์ทำงานได้ดีกว่า ไม่มีเหนื่อย และไม่เสี่ยงอันตรายเหมือนกับการใช้มนุษย์ ถ้าแบ่งผลกระทบการใช้คอมพิวเตอร์กับมนุษย์ แต่จนแล้วจนรอดสิ่งต่างๆ เหล่านั้นก็ยังคงไม่สามารถทดแทนกับคนบางกลุ่มได้นั้นคือคนที่ทำงานสั่งการมันนั้นเอง หรือเหล่าคนที่ต้องควบคุมดูแล และจัดการระบบ รวมถึงนักโปรแกรมเมอร์อย่างผม และเพื่อนๆ พี่ๆ หลายๆ คน ซึ่งผมกระทบทางด้านสุขภาพนั้นอาจจะไม่ได้มาในทันทีทันใด แต่จะสะสมรอวันที่มันจะแสดงตัวมันในอนาคต
ภาพที่1





ภาพที่2






ภาพที่3








ซึ่งอวัยวะของมนุษย์ สิ่งที่สำคัญในการใช้คอมพิวเตอร์ คือ ตา ครับ ซึ่งในเมื่อเราใช้คอมพิวเตอร์ไปนานๆ หรือเพ่งจอมากๆ นั้นจะทำให้รู้สึกว่าปวดตา อาจทำให้สายตามีปัญหาได้ถ้าเราไม่รู้จักที่จะดูแลและเข้าใจในการถนอมมัน เช่น สายตาสั้น ส่วนใหญ่ผู้ที่ทำงานหน้าเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นประจำ หรือคนที่เล่นเกม ซึ่งเด็กนักเรียนนักศึกษาเล่นกันมาก บางครั้งการเล่นเกมคอมพิวเตอร์ ถ้าเล่นจนเกินขอบเขต เกินความพอดี อาจจะทำให้การมองเห็นของเค้านั้นด้อยลงครับ และอีกอย่างคือจากการที่หนังสือพิมพ์ลงข่าวว่ามีนักศึกษาเล่นเกมจนช็อตตายคาร้านอินเตอร์เน็ต การใช้คอมพิวเตอร์นานๆ นั้นซึ่งเกิดจากการที่เราไม่ได้ทำการพักผ่อนที่เพียงพอครับ ซึ่งเกิดจากการอ่อนล้าจากที่ต้องประสาทสัมผัสต่างๆ ซึ่งต้องตื่นตัวตลอดเวลาทำให้เกิดความเครียดในระดับภายในหรือสมองนั้นเอง ซึ่งเราจะรู้ได้ด้วยตัวเองว่าเมื่อไหร่ที่พักสายตา ตรงนี้อาจจะสังเกตจากตาของเราว่าเมื่อใช้ไปนานๆ จะเริ่มปวดตา หรือเริ่มที่จะมึนๆ หรือง่วงนอนแล้ว ซึ่งควรจะหยุด โดยละสายตามองทางอื่น หรือลุกขึ้นไปเพื่อผ่อนคลายก่อน และมองออกไปในที่ไกลๆ เพื่อให้สายตาได้ทำการปรับระยะการมองเห็นบางเพื่อไม่ให้เสื่อม แล้วจึงลงมานั่งทำงานต่อ อย่าฝืนมากเกินไปอาจจะเป็นผลเสียกับตัวเอง อาจจะมองเห็นเป็นภาพเบลอๆ แต่เป็นอาการชั้วคราว สาเหตุก็เกิดจากรังสีออกมาจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ อาการที่เกิดขึ้นจากการมองจอภาพเป็นเวลานานๆ นี้เรียกว่า Computer Vision Syndrome (CVS) และอีกเรื่องที่ไม่มีใครนั้นสนใจคือการวางจอแสดงผลครับ ควรวางในระดับสายตาครับ ทำให้เราสามารถมองได้ไม่สบายตา ไม่ควรเงือยหน้ามองจอครับหรือก้มหน้ามองมากจนเกินไปครับ เพราะอาจจะทำให้กระดูกสันหลังส่วนบนบริเวณคอผิดรูปและทำให้ไปกดเส้นประสาททำให้เป็นอัมพาตได้ครับ เราควนใส่ใจในด้านนี้ให้มากครับ และควรใช้ Document Holder (ที่หนีบกระดาษด้วยข้างจอ) ช่วยในการพิมพ์งานต่างๆ ครับ เพื่อสะดวกในการพิมพ์งานและมองเอกสารครับ ดังภาพที่ 4



ภาพที่4






ซึ่งจากการเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงของสุขภาพ (Health Risks) รศ.นพ.กำจรตติยกวี ผู้อำนวยการศูนย์สารสนเทศทางการแพทย์เพื่อประชาชนจุฬาลงกรมหาวิทยาลัย กล่าวว่า "อาการที่เกิดจากการนั่งทำงานอยู่หน้าเครื่องนานๆ " ทางการแพทย์เรียกว่า Repetitive Strain Injury หรือ RSI อาการนี้จะเกิดขึ้นจากการที่คนเรานั่งทำงานหน้าเครื่องคอมพิวเตอร์แบบไม่ถูกสุขลักษณะ เช่น เอามือวางไว้บนคีย์บอร์ด ที่ไม่ถูกต้องปิดข้อมือมากเกินไป และ วางมือไม่ขนานกับในระดับเส้นตรงขนานกับพื้นปกติ แต่เรากลับวางมือแบบคดงอและไม่มีที่พิงซึ่งตามที่ถูกต้องแล้วที่เก้าอี้นั่งควรมีที่ช่วยพยุงมือเพื่อให้ขนานกับพื้นและตั้งฉากกับร่างกายครับ เพื่อให้เกิดความสบายใจการทำงานให้มากขึ้นด้วย รวมถึงระยะเวลาที่ควรจะพิมพ์งานและทำงานบนคีย์บอร์ดควรอยู่ที่ 20 - 30 นาที แล้วทำการพักข้อมือเพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าวด้วย ดังภาพที่ 5
ภาพที่5
 
 
 
 
 
 
 
 
การวางมือที่ผิด
 
 
 
 
 
 
 
การวางมือที่ถูกต้อง






สรุปได้ว่า RSI นั้น สามารถเกิดได้ทุกส่วนของร่างกาย ตั้งแต่แขน ข้อมือ ข้อนิ้ว แผ่นหลัง ต้นคอ หัวไหล่และสายตา หากปล่อยไว้นานๆ อาจต้องผ่าตัดเอ็น แม้ปัจจุบันมีบริษัทชั้นนำด้วย IT ต่างๆ นั้นจะได้พยายามผลิตเครื่องป้องกันอันตรายจากคอมพิวเตอร์ ที่มีผลต่อร่างกายมนุษย์มาแต่ก็มีราคาที่แพงกว่าสินค้าที่ไม่คำนึงถึง ทางด้านนี้มากพอสมควรเลยทีเดียว และทางแก้ในเรื่องนี้นั้นก็ใช้ค่าใช้จ่ายมากอีกด้วย เช่น ใช้เมาส์มีขนานเหมาะสมกับมือของตัวเอง ไม่เล็กหรือใหญ่จนเกินไป และก่อนที่จะซื้อโต๊ะคอมพิวเตอร์นั้นควรออกแบบ หรือวัดโต๊ะหรือออกแบบโต๊ะที่เหมาะสมกับตัวเองเพื่อวางคอมพิวเตอร์และเก้าอี้นั่งพิมพ์ให้เหมาะสมกับร่างกาย เราก่อนด้วย เพราะสิ่งเหล่านี้มีผลกับเราในอนาคต ถึงแม้ราคาจะแพงแต่สุขภาพของเราและสภาพร่างกายแล้วคุ้มมากเลย ซึ่งในเมืองไทยยังไม่มีใครเป็น RSI ถึงขั้นร้ายแรงมาก จนเกิดอาการเส้นเอ็นอักเสบจนถึงขั้น ต้องผ่าตัด แต่การผ่าตัดเส้นเอ็นที่พบบ่อยครั้งมากกว่านั้นส่วนใหญ่จะเกิดจากเรื่องของการเล่นกีฬามากกว่า สำหรับ RSI ที่เกิดในประเทศไทยยังไม่ถือว่าเป็นปัญหาใหญ่ แต่ในอนาคตอันใกล้นี้ไม่แน่ เพราะว่าอาการเหล่านี้เป็นอาการสะสม เหมือนโรคมะเร็ง หรือโรคทางเดิมหายใจต่างๆ
      ในอเมริกาอาการของโรค RSI เป็นอันดับหนึ่งในส่วนของโรคที่เกิดจากการทำงาน มีผู้ป่วยใหม่เพิ่มขึ้นในแต่ละปี ประมาณ 300,000 คน (ข้อมูลปี พ.ศ. 2546) อัตราการเจริญเติบโตเพิ่มสูงขึ้นในแต่ละปี ประมาณ 20% พนักงานต้องขาดงานโดยเฉลี่ย 30 วันทำงานต่อปี เพื่อรักษาโรคเหล่านี้
      แม้ขณะนี้ RSI จะยังไม่ใช่ปัญหาของสังคมไทยในอนาคตคาดว่าคนไทยจะมีเปอร์เซ็นต์จากอาการเจ็บป่วยมากขึ้นอย่างแน่นอนในไม่ช้านี้ครับ ซึ่งสามารถจากปัญหาข้างต้น